สื่อการเรียนการสอน วิชาคณิตศาสตร์

ชั้น ม.4 บทที่ 1 เรื่อง เซต


เซต เป็นคำที่ไม่ให้ให้นิยาม (Undefined Term) เรามักใช้เซตแทนสิ่งที่อยู่ร่วมกัน ซึ่งหมายถึงกลุ่มของสิ่งต่างๆ
ที่เราสามารถกำหนดสมาชิกได้ชัดเจน (Well-Defined)

เซตจำกัด ( Finite Set )

คือ เซตที่สามารถนับจำนวนสมาชิกได้ทั้งหมดและมีจำนวนที่แน่นอน

- เช่น -

A = {1, 2, 3, … ,20}

B = {x | x เป็นจำนวนคี่บวกที่มีค่าน้อยกว่า 10}

เซตอนันต์ ( Infinite Set )

คือ เซตที่ไม่สามารถบอกจำนวนสมาชิกได้เพราะสมาชิกมีจำนวนมาก

- เช่น -

A = {1, 2, 3, …}

B = {x | x เป็นจำนวนคี่บวก}

เซตว่าง ( Empty Set )

คือ เซตที่ไม่มีสมาชิก หรือมีจำนวนสมาชิกในเซตเป็นศูนย์

- แทนด้วยสัญลักษณ์ { } หรือ Ø

เอกภพสัมพัทธ์ ( Relative Universe )

คือ เซตที่กำหนดขอบเขตของสิ่งที่ต้องการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นเซตที่ใหญ่ที่สุด

- แทนด้วยสัญลักษณ์ U ( Universe )

ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน คอมพลีเมนต์ของเซต และผลต่างระหว่างเซต

1) ยูเนียน ( Union )

มีนิยามว่า เซต A ยูเนียนกับเซต B คือเซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A หรือ เซต B หรือทั้ง A และ B
สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A ∪ B (Keyword: การนำสมาชิกทั้งสองเซตมารวมกัน ตัวใดซ้ำตัดเอาเพียงตัวเดียว)

เช่น
A = { 1, 2, 3 }            เมื่อนำมา ∪ กันจะได้
B = { 3, 4, 5 }            ∴ A ∪ B = {1,2,3,4,5}

2) อินเตอร์เซกชัน ( Intersection )

มีนิยามว่า เซต A อินเตอร์เซกชันเซต B คือเซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของทั้งเซต A และเซต B
สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A ∩ B (Keyword: สมาชิกที่ซ้ำกันของทั้งสองเซต)

เช่น
A = { 1, 2, 3 }            เมื่อนำมา ∩ กันจะได้
B = { 3, 4, 5 }            ∴ A ∩ B = { 3 }

3) คอมพลีเมนต์ ( Complements )

มีนิยามว่า ถ้าเซต A ใดๆ คอมพลีเมนต์ของเซต A คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเอกภพสัมพัทธ์ (U) แต่ไม่เป็นสมาชิกของ A
สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A’ (Keyword: สมาชิกที่เหลือที่ไม่ได้อยู่ในเซตที่เรากำหนด)

เช่น
U = { 1, 2, 3, 4, 5 }      เมื่อนำมา ' จะได้
A = { 1, 2, 3 }            ∴ A = { 4, 5 }

4) ผลต่างระหว่างเซต ( Difference )

มีนิยามว่า ถ้าเซต A และ B เป็นเซตใดๆในเอกภพสัมพัทธ์เดียวกันแล้ว ผลต่างของเซต A และ B คือ เซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A แต่ไม่เป็นสมาชิกของเซต B
สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A - B (Keyword: สมาชิกที่อยู่ในเฉพาะเซตตัวหน้า ไม่รวมตัวซ้ำ)

เช่น
A = { 1, 2, 3 }            เมื่อนำมา ' จะได้
B = { 3, 4, 5 }            ∴ A - B = { 1, 2 }

สับเซตและเพาเวอร์เซต

1) สับเซต ( Subset )

คือ เซตที่เล็กกว่าหรือเท่ากันกับเซตที่กำหนด โดยต้องใช้สมาชิกร่วมกับเซตที่กำหนดเท่านั้น

    ถ้าสมาชิกทุกตัวของ A เป็นสมาชิกของ B แล้ว จะเรียกว่า A เป็นสับเซตของ B จะเขียนว่า
เซต A เป็นสับเซตของเซต B แทนด้วย A ⊂ B
    ถ้าสมาชิกบางตัวของ A ไม่เป็นสมาชิกของ B จะเรียกว่า A ไม่เป็นสับเซตของ B จะเขียนว่า
เซต A ไม่เป็นสับเซตของเซต B แทนด้วย A ⊄ B

    สมบัติของสับเซต

    1) A ⊂ A (เซตทุกเซตเป็นสับเซตของตัวมันเอง)
    2) A ⊂ U (เซตทุกเซตเป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์)
    3) ø ⊂ A (เซตว่างเป็นสับเซตของทุกๆ เซต)
    4) ถ้า A ⊂ ø แล้ว A = ø
    5) ถ้า A ⊂ B และ B ⊂ C แล้ว A ⊂ C (สมบัติการถ่ายทอด)
    6) A = B ก็ต่อเมื่อ A ⊂ B และ B ⊂ A
    7) ถ้า A มีจำนวนสมาชิก n ตัว สับเซตของเซตจะมีทั้งสิ้น 2n สับเซต

    สับเซตแท้

    คือ สับเซตทั้งหมดที่ไม่ใช่ตัวมันเอง มี 2n – 1 สับเซต (เซตว่างไม่มีสับเซตแท้)

ตัวอย่างการใช้สูตร

เซต

จำนวนสมาชิกของเซต

จำนวนสับเซตทั้งหมด

 1. A = Ø

 2. B = { 1 }

 3. C = { 1 , 2 }

 4. D = { 1 , 2 , 3 }

0

1

2

3

20 = 1

21 = 2

22 = 4

23 = 8


2) เพาเวอร์เซต ( Power Set )

หมายถึง เซตของสับเซต จะเขียนแทนเพาเวอร์เซตของเซต A ด้วย P(A)
การจะหาเพาเวอร์เซตได้ จะต้องหาสับเซตทั้งหมดก่อน จึงจะใส่ {} ครอบลงไป เพื่อทำให้เป็นเพาเวอร์เซตได้

เช่น
A = { 2, 4 }
ขั้นตอนแรก:     หาสับเซตทั้งหมด
ได้แก่ Ø , { 2 } , { 4 } , { 2, 4 }
ดังนั้น P(A) = { Ø , { 2 } , { 4 } , { 2, 4 } }

แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ( Venn-Euler Diagram )

    แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ เป็นแผนภาพแสดงความเกี่ยวข้องของเซตต่าง ๆ ซึ่งชื่อที่ใช้เรียกเป็นชื่อของนักคณิตศาสตร์สองคน
คือ จอห์น เวนน์ และ เลโอนาร์ด ออยเลอร์

    การเขียนแผนภาพ จะแทน เอกภพสัมพัทธ์ U ด้วยสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือรูปปิดใดๆ ส่วนเซตต่างๆเช่น เซต A,B,C...
จะเขียนแทนเป็นสัญลักษณ์วงกลมและมีสมาชิกอยู่ภายใน

สมาชิกรวมระหว่าง เซต A และ เซต B ( A U B )

A U B = { 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 }

สมาชิกร่วมกันของ เซต A และ เซต B (A ∩ B)

A ∩ B = { 4 }

ผลต่างระหว่าง เซต A และ เซต B (A - B)

A - B = { 1, 2, 3 }

สมาชิกที่ไม่ได้อยู่ใน เซต A (A')

A' = { 4, 5, 6, 7 }

การแก้ปัญหาโดยใช้เซต

    สรุปวิธีการในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหาในเรื่องการหาจำนวนสมาชิกของเซต มีดังนี้

    💡 แทนเซตของสิ่งของใดๆในโจทย์ปัญหาด้วยของเซต เช่น A,B หรือ C
    💡 จากข้อมูลในโจทย์ปัญหา หาจำนวนสมาชิกของเซตที่กำหนดให้
    💡 หาคำตอบของโจทย์ปัญหา ซึ่งอาจทำได้ 2 วิธี ได้แก่
        1) การใช้แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์
        2) ใช้สูตรในการหาจำนวนสมาชิกของเซต

✏️ จัดทำโดย ✏️

นายภีรวิช ภักดีภิญโญ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 เลขที่ 14 โรงเรียนอุตรดิตถ์ | ปีการศึกษา 2562

📝 เสนอ 📝

คุณครูมานพ ขันเอีย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนอุตรดิตถ์

💼 แหล่งอ้างอิงเนื้อหา 💼

- ติวฟรี.คอม: เซตเบื้องต้น

- OpenDurian: พื้นฐานเซต

- OpenDurian: สับเซตและเพาเวอร์เซต

- OpenDurian: แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์